วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บทที่ ๒ เอกสารที่เกี่ยวข้อง


ในการจัดทำรายงาน  เรื่อง กล้วยฉาบได้มีการศึกษา ค้นคว้า เกี่ยวกับกล้วยฉาบและได้ข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้า ดังนี้
  ๑.กล้วย
๑.๑ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูงประมาณ ๓.๕ เมตร ลำต้นสั้นอยู่ใต้ดิน กาบเรียงเวียนซ้อนกันเป็นลำต้นเทียม สีเขียวอ่อน ใบ เป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ออกเรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง ๒๕.๔๐ ซม. ยาว ๑-๒ เมตร ปลายใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ด้านล่างมีนวลสีขาว เส้นใบขนานกันในแนวขวาง ก้านใบเป็นร่องแคบ ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอดห้อยลง เรียกว่า หัวปลี มีใบประดับขนาดใหญ่หุ้มสีแดงเข้ม เมื่อบานจะม้วนงอขึ้น ด้านนอกมีนวล ด้านในเกลี้ยง ผล รูปรี ยาว ๑๑-๑๓ ซม. ผิวเรียบ ปลายเป็นจุก เนื้อในมีสีขาว พอสุกเปลือกผลเป็นสีเหลือง เนื้อมีรสหวาน รับประทานได้ หวีหนึ่งมี ๑๐-๑๖ ผล บางครั้งมีเมล็ด เมล็ดกลม สีดำ
            ๑.๒ ลักษณะทั่วไป  :  กล้วยน้ำว้ามีลักษณะต้นสูง ๒.๕-๔ เมตร ลำต้นมีขนาด
เส้นผ่าศูนย์กลาง    ๑๘ เซนติเมตร   กาบลำต้นเทียมด้านนอก  สีขียวอ่อนมีประดำอยู่ทั่วไป
 ด้านในสีเขียวอ่อนกว่าสี สม่ำเสมอก้านช่อดอกไม่มีขน ปลีดอกกล้วยสีแดงอมม่วง  
 เครือยาวขนาด ๑๕-๒๗ หวี หวีหนึ่งมี ๑๐-๑๖ ผล เมื่อดิบเปลือกผลสีเขียวสุกมีสีเหลือปน
น้ำตาลเนื้อเหลืองอมขาว มีรสหวานแบ่งออกเป็นสายพันธุ์ต่างๆ มีความแตกต่างกันเล็กน้อย

           ๑.๓  การปลูกกล้วยน้ำว้า
           วิธีปลูก:
ปลูกในช่วงฤดูฝน
ปลูกด้วยหน่อใบแคบ หรือต้นพันธุ์ที่ได้จากการเพาะปลูกเลี้ยงเนื้อเยื่อ
เตรียมหลุมปลูกขนาด ๕๐x๕๐x๕๐ ซม.
ผสมดินปุ๋ยคอกจำนวน ๕ กิโลกรัม และปุ๋ยร็อคฟอสเฟส จำนวน ๕๐ กรัม 
เข้าด้วยกันใน หลุมให้สูง
ประมาณ ๒ ใน ๓ ของหลุม
ยกถุงกล้าต้นไม้วางในหลุมโดยระดับของดินในถุงสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อย
ใช้มีดที่คมกรีดถุงจากก้นถุงขึ้นมาถึงปากหลุมทั้ง ๒ ด้าน (ซ้ายและขวา)
ดึงถุงพลาสติกออกโดยระวังอย่าให้ดินแตก
กลบดินที่เหลือลงในหลุม
กดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น
คลุมดินบริเวณโคนต้นด้วยฟางข้าว หรือหญ้าแห้ง
รดน้ำให้ชุ่ม

      ระยะปลูก:
  ๒.๕. x ๓ เมตร ๒.๕ x ๒.๕ เมตร
  จำนวนต้นต่อไร่:  จำนวนต้นเฉลี่ย ๒๐๐ ต้น/ไร่ ๒๕๐ ต้น/ไร่
            
๑.๔ การดูแลรักษา
      การใส่ปุ๋ย:
ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร ๑๓-๑๓-๒๑ หรือ ๑๕-๑๕-๑๕ อัตรา ๑ กิโลกรัม ต้น/ปี โดยแบ่งใส่ ๔ ครั้งๆละ
 ๒๕๐ กรัม ดังนี้

ครั้งที่ ๑ ใส่หลังปลูก ๑ สัปดาห์ ใช้สูตร ๑๕-๑๕-๑๕
ครั้งที่ ๒ ใส่หลังจากครั้งที่ ๑ ประมาณ ๓ เดือน ใช้สูตร ๑๕-๑๕-๑๕
ครั้งที่ ๓ ใส่หลังจากครั้งที่ ๒ ประมาณ ๓ เดือน ใช้สูตร ๑๕-๑๕-๑๕
ครั้งที่ ๔ ใส่หลังจากครั้งที่ ๓ ประมาณ ๓ เดือน ใช้สูตร ๑๓-๑๓-๒๑
            การให้น้ำ:
            ปริมาณของน้ำนั้นขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ ความชุ่มชื้นของดิน ปริมาณลมที่พัดผ่าน
จะทำให้การคายน้ำมากจึงไม่ควร ปล่อยให้ผิวหน้าดินแห้งติดต่อกันเป็นเวลานาน เนื่องจาก
รากจะหาอาหารอยู่บริเวณผิวดินจึงทำให้หยุดชะงักการเจริญเติบโต
             การตัดแต่งหน่อ:
ตัดแต่งหน่อหลังจากปลูกประมาณ ๓-๔ เดือน จะมีหน่อขึ้นมารอบ ๆ โคนให้ตัด ไปเรื่อยจน
กว่าจะเริ่มออกปลีหรือหลัง  ปลูกแล้วประมาณ ๗-๘เดือน ควรมีการไว้หน่อทดแทน ๑-๒ หน่อ 
โดยหน่อที่ ๑ และที่ ๒ควรมีอายุห่างกันประมาณ ๔ เดือน เพื่อให้ผลกล้วยมีความอุดมสมบูรณ์
 โดย เลือกหน่อที่อยู่ในทิศทางที่ตรงกันข้าม

            การตัดแต่งใบ:
            ควรตัดแต่งใบช่วงที่ต้นเริ่มโตจนถึงเก็บเกี่ยว โดยเลือกใบแก่ และใบที่เป็นโรคออก 
ตัดให้เหลือประมาณ ๗-๑๒ ใบ เพื่อป้องกันต้นกล้วยโค่นช่วงออกปลี เพื่อใช้ใบปรุงอาหาร
และเพิ่มความเจริญเติบของผลกล้วย
๑.๕ การเก็บเกี่ยว
             การเก็บเกี่ยวกล้วยระยะใดขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการขนส่ง หากขนส่งไปขายไกลๆ 
อาจตัดกล้วยเมื่อความแก่ ประมาณ ๗๕ การดูลักษณะความอ่อนแก่ของกล้วย อาจดูจาก
ลักษณะผล เช่น ดูขนาดลูกกล้วย เหลี่ยมกล้วย หรือใช้วิธีการนับอายุจากวันแทงปลีหรือวันตัดปลี
ในการตัดจะต้องพิจารณาถึงต้นสูงหรือเตี้ยถ้าสูงก็ให้ตัดบริเวณโคนต้น เพื่อให้ต้นเอียง ลงมา
 โดยให้อีกคนหนึ่งจับหรือรับเครือกล้วยไว้ จะต้องเหลือก้านให้ยาวพอสมควร นำไปยังโรงเรือน
เพื่อคัดขนาดบรรจุต่อไป

๑.๖ การปฏิบัติหลังเก็บเกี่ยว
             นำเครือกล้วยแขวนไว้บนราว ปล่อยให้ยางไหลจนแห้งทำความสะอาดถูกผลหรือ
บริเวณปลายผลที่มีกลีบแห้งติดอยู่ออกให้หมด แยกเครือกล้วยออกเป็นหวี ๆ อย่างระมัดระวัง
อย่าให้รอยตัดช้ำคัดเลือกผลที่มีรอยตำหนิ หวีที่ไม่ได้ขนาดออกจุ่มในน้ำผสมสารไธอาเมนตาโซล
 แล้วผึ่งลมหรือเป่าให้แห้งบรรจุหีบห่อ/บรรจุลงเข่งโดยมีใบตองรอง เพื่อป้องกันบอบช้ำ
 ๑.๗ ส่วนที่ใช้ : หัวปลี  เนื้อกล้วยน้ำว้าดิบ หรือห่าม กล้วยน้ำว้าสุกงอม ราก ต้น ใบ ยางจากใบ
๑.๘ สรรพคุณ :
ราก - แก้ขัดเบา
ต้น - ห้ามเลือด แก้โรคไส้เลื่อน
ใบ - รักษาแผลสุนัขกัด ห้ามเลือด
ยางจากใบ - ห้ามเลือด สมานแผล
ผล - รักษาโรคกระเพาะ แก้ท้องเสีย ยาอายุวัฒนะ แก้โรคบิด รักษาแผลไฟไหม้ 
 น้ำร้อนลวก แก้ริดสีดวง
กล้วยน้ำว้าดิบ - มีฤทธิ์ฝาดสมาน ใช้แก้อาการท้องเดิน แก้โรคกระเพาะ และ
อาหารไม่ย่อย
กล้วยน้ำว้าสุกงอม - เป็นอาหารยาระบายสำหรับผู้ที่อุจจาระแข็งหรือเป็นริดสีดวงทวาร
ขั้นแรกจนกระทั่ง ถ่ายเป็นเลือด         
หัวปลี - (ช่อดอกของต้นกล้วย จำนวนไม่จำกัด) ขับน้ำนม
๑.๙ วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ขับน้ำนม - ใช้หัวปลีแกงเลียงรับประทานบ่อยๆ หลังคลอดใหม่ๆ
แก้ท้องเดินท้องเสีย
ใช้กล้วยน้ำว้าดิบหรือห่ามมาปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นบางๆ ใส่น้ำพอท่วมยา ต้มนานครึ่ง
ชั่วโมง ครั้งละ ๑/๒-๑ถ้วยแก้วให้ดื่มทุกครั้งที่ถ่าย หรือทุกๆ ๑-๒ ชั่วโมง ใน ๔-๕ 
ชั่วโมงแรก หลังจากนั้นให้ดื่มทุกๆ ๓-๔ ชั่วโมงหรือวัน ละ ๓-๔ ครั้ง
๑.๑๐ สรรพคุณเด่น :
    ๑. แก้โรคกระเพาะ - นำกล้วยน้ำว้าดิบ (ถ้าเป็นกล้วยกักมุกดิบจะดีกว่า) มาปอก
เปลือกแล้วนำเนื้อมาฝาน เป็นแผ่นบางๆตากแดด ๒ วันให้แห้งกรอบ
บดเป็นผงให้ละเอียดใช้รับประทาน ครั้งละ ๑-๒ ช้อนโต๊ะละลายน้ำข้าวน้ำผึ้ง 
(น้ำธรรมดาก็ได้) รับประทานก่อนอาหารครึ่งชั่วโมงและก่อนนอน
              ๒. แก้ท้องผูก - ให้รับประทานกล้วยน้ำว้าสุกงอม ครั้งละ ๒ ผล วันละ ๓ ครั้ง
           ก่อนอาหาร ๑/๒ ชั่วโมงเวลารับประทาน  ควรเคี้ยวให้ละเอียดที่สุด
            ๓.
 แก้ท้องเดิน - ใช้เนื้อกล้วยน้ำว้าห่ามรับประทาน หรือใช้กล้วยน้ำว้าดิบฝาน
           เป็นแว่นตาก  แห้งรับประทาน
๑.๑๑ สารเคมีที่พบ :
      หัวปลี  มีธาตุเหล็กมากหัวปลี และราก มี Triterpene หรือ Steroid
ผลกล้วย ทุกชนิดประกอบด้วย น้ำ แป้ง โปรตีนไขมัน เส้นใย เกลือแร่ต่างๆ 
(โดยเฉพาะแคลเซียม เหล็ก และ โปรแตสเซียมในกล้วยหอมมีมาก) 
วิตามิน และเอนไซม์ต่างๆ 


๒.กล้วยฉาบ
๒.๑  ส่วนประกอบ
  ๒.๑.๑  กล้วยที่แก่จัด แต่ไม่ถึงกับสุก กล้วยที่นิยมนำมาฉาบจะเป็น กล้วยน้ำหว้า
  ๒.๑.๒  น้ำมันสำหรับใช้ทอด
  ๒.๑.๓  น้ำตาลทราย
  ๒.๑.๔  เกลือ
  ๒.๑.๕  เนย
  ๒.๑.๖  ใบเตย
          ๒.๒ วิธีการทำกล้วยฉาบ
 ๒.๒.๑ นำกล้วยมาปอกเปลือกแล้วนำไปแช่น้ำเกลือไว้เพื่อไม่ให้กล้วยมีสีดำ                                                                                                                                                     
 ๒.๒.๒ ฝานกล้วยเป็นแผ่นบางๆตามยาวหรือตามขวางก็ได้แล้วแต่ว่าจะชอบแบบไหน                                                                                                                      
 ๒.๒.๓ นำกล้วยลงไปทอดในน้ำมันที่ผสมเนยและใบเตย หมั่นกลับกล้วยบ่อยๆ
ให้สุกสม่ำเสมอกัน จนกรอบ ไม่ต้องให้กล้วยเหลืองจากกระทะ คือเอาให้พอกรอบ 
แล้วพอตั้งไว้ให้สะเด็ดน้ำมัน กล้วยจะเหลืองเอง
๒.๒.๔ ตั้งกระทะ ใส่น้ำ 3 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำตาล 1/2 ถ้วย ใส่เกลือเล็กน้อย 
เคี่ยวให้น้ำตาลเหนียวและเหลือง 
๒.๒.๕ นำกล้วยที่ทอดแล้วมาใส่ในน้ำตาลและคนให้ทั่วเพื่อให้น้ำตาลติดที่กล้วย
๒.๒.๖ นำมาบรรจุถุง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น